วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



                                                                    ประวัติผู้แต่ง







             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น






ความเป็นมาของ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

     บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑

     หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัตน์, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด, นิทิศบรรณา, สาราจากใจ และมาลัยปกิณกะ
     ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา” เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย, การใช้สรรพนาม, วิจารณ์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลี และทุกข์ของชาวนาในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองที่จะนำมาศึกษาในบทเรียนนี้




ลักษณะคำประพันธ์

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆอย่างละเอียด ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม บทความที่แสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการสร้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผุ้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม




                                                            จุดมุ่งหมายของการแต่ง

                เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวีนี้มีจุดมุ่งหมายแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยากลำบากของชาวนาผ่านบทกวี  และเพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีของจีน  ซึ่งกล่าวถึงความทุกข์ของชาวนาในบทกวี


เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลงบทกวีของหลี่เซินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่าง ต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งภูมิอากาศเอื้อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบรูณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คืนชาวนาเท่าที่ควร และส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้ จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เซินจะมีวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่กวีทั้งสองท่านกลับมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ้งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่ต่างกัน
                                                                                                         





ข้อคิดที่ได้รับ
เราควรรู้คุณค่าของข้าวที่รับประทานกันอยู่ทุกวันว่า กว่าจะได้เมล็ดข้าวมาแต่ละเม็ดล้วนเกิดจากความเหนื่อยยากของชาวนา เพราะฉะนั้นไม่ควรกินทิ้งกินขว้างให้เสียประโยชน์
1.ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบภัยต่างๆ
2.ทำให้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว
3.ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์

                             
                                                                             



คำศัพท์ที่น่าสนใจ
กำซาบ ความหมาย ซึมเข้าไป
เขียวคาว ความหมาย สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่น แต่ในบทกวีกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความขมขื่นของชาวนา
ธัญพืช ความหมาย มาจากภาษาบาลีว่า ธญฺญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ให้เมล็ด เป็นอาหารหลัก
ประกันราคา ความหมาย การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่างๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่ได้ กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ ความหมาย วิธีการใช้ปลายนิ้วทั้งห้าหยิบข้าวใส่ปากตนเอง
ภาคบริการ ความหมาย อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานในร้านอาหาร ช่างเสริมสวย
ลำเลิก ความหมาย กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้สำนึกถึงบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น
สวัสดิการ ความหมาย การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล มีที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง
สู ความหมาย สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำโบราณ
อาจิณ ความหมาย ประจำ



ความรู้เพิ่มเติม
จิตร ภูมิศักดิ์
    จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่งของไทยที่มีผลงานทางด้านวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง รวมทั้งยังมีแนวคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูง นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรเป็นอย่างมาก งานนิพนธ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ภาษาและนิรุกติศาสตร์, โองการแช่น้ำและข้อคิดใหม่ในแนวประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, ข้อเท็จจริงว่าด้วย ชนชาติขอม, ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม, ลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ, โฉมหน้าศักดินาไทย และบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งผลงาน ๓ เรื่อง หลังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในร้อยหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน

 ประวัติข้าวไทย
     พันธุ์ข้าวที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่า ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีปGondwanaland ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวออกจากกันเป็นทวีปต่างๆ เมื่อราว ๒๓๐ - ๖๐๐ ล้านปีมาแล้ว
     ในเบื้องแรก มนุษย์ค้นพบวิธีปลูกข้าวแบบทำไร่เลื่อนลอย ต่อมาจึงค้นพบการทำนาหว่าน ดังปรากฏ หลักฐานในวัฒนธรรมยางเชา บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองในวัฒนธรรมลุงซาน ประเทศจีน และวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม เมื่อประมาณ ๕๐๐๐ – ๑๐๐๐๐๐ ปีมาแล้ว
อายุราว ๓๐๐๐ – ๓๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ รอยแกลบข้าว ซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดข่อนแก่น เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่าแก่ที่สุด คือ ประมาณ ๓๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ อาทิ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ ๓๐๐๐ – ๓๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว ๕๔๐๐ ปีมาแล้ว แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผา กำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือ ประมาณ ๒๐๐๐ – ๓๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ลักษณะเป้นข้าวเอเชีย หลักฐานการค้นพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดิน และรอยแกลบบนเครท้องปั้นดินเผาที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังพบหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าเมืองไทยที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุราวประมาณ ๒๘๐๐ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น     ภูมิปัญญาด้านการปลูกข้าวพัฒนาสู่การปักดำ พบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียง ประเทศไทย เมื่อไม่ต่ำกว่า ๕๐๐๐ ปีมาแล้ว ในประเทศไทย เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดพบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

                                                                                      

 วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี
          คุณค่าด้านเนื้อหา
          กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
          ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
          เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น
          "...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก"  กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."
          ส่วนสรุป  สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา  ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า
          "ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุค คอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."
          สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
          "เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตน เอง"
                                          หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
                                          จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
                                          รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
                                          แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                                          ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
                                          เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                                          ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
                                          ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

                                 เปิบข้าวทุกคราวคำ                      จงสูจำเป็นอาจิณ
                            เหงื่อกูที่สูกิน                                   จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                            ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                            เบื้องหลังสิทุกข์ทน                           และขมขื่นจนเขียวคาว
                           จากแรงมาเป็นรวง                             ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                           จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                          ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                           ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                               จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                              และน้ำแรงอันหลั่งริน
                          สายเลือดกูท้งสิ้น                               ที่สูชดกำชาบฟัน

          บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย  แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน  คือ  แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์  ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วย ตนเอง  อย่างไรก็ตามแนวคิดของกวีทั้งสองคนคล้ายคลึงกัน  คือ  ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยต้อง ประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคน ทุกชนชั้น  พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  สอดคล้องกับบทวีของหลี่เชิน กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตองชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลกจะเป็นไทยหรือจีน  จะเป็นสมัยใดก็ตาม  ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน
          ดังนั้นแนวคิดสำคัญของบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  จึงอยู่ที่ความทุกข์ยากของชาวนา  และสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอดังความที่ว่า
          "...แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้ให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร..."
          แม้ว่าในบทความนี้จะไม่ได้มีการเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา  แต่แนวคิดของเรื่องที่แจ่มแจ้งและชัดเจนดังที่กล่าวมาจะมีผลให้สังคมหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประจักษ์และตระหนักถึงความสำคัญของชาวนา  และเล็งเห็นปัญหาต่าง ๆ อันอาจจะนำไปสู่การแสวงหาหนทางแก้ไขในท้ายที่สุด


                       
                         




ผังมโนทัศน์

ประวัติผู้แต่ง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ความเป็นมา

บทความเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑
เนื้อเรื่องย่อ

เนื้อความในตอนแรกของบทความ ได้ทรงยกบทกวีของ
จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนเชินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น